การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A) ของโรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ จังหวัดลําปาง

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
(IP2A) ของโรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ จังหวัดลําปาง
THE DEVELOPMENT OF AN ACADEMIC MANAGEMENT TO ENHANCE THE PROJECT
APPROACH (IP2A) TESSABAN MAEMOH SCHOOL, LAMPANG

ปริญญา รัตนเพ็ญ
ParinyaRattanpen
โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ เทศบาลตําบลแม่เมาะจังหวัดลําปาง
TessabanMaemohSchool MaemohMunicipalLampang
Email : parinya_eak@hotmail.com

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการจัด
ประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการ
บริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงาน
วิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ
เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A) 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริม
การจัดประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A) พบว่า เด็กมีความสนใจในการเรียนรู้น้อยและมีสมาธิในการทํากิจกรรมน้อยเนื่องจากการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่บ้าน เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์เป็นต้น ผู้ปกครองไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียนและไม่มีความรู้ความเข้าในด้านการวัดผลประเมินผลระดับปฐมวัยและสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้ในชั้นเรียนยังไม่หลากหลาย
  2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A)พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A) ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ 1. ส่วนปัจจัยนําเข้า ได้แก่ คณะกรรมการบริหารงานวิชาการ เด็ก วิธีการจัดประสบการณ์และสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา 2. ส่วนกระบวนการ ได้แก่ การมีส่วนร่วม การจัดประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A)และวงจรบริหารคุณภาพ (PDCA) 3. ส่วนผลผลิต ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู เด็ก และชุมชน
  3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A) ของโรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ พบว่าเด็กมีผลการประเมินพัฒนาการโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านร่างกาย อยู่ในระดับดี ด้านอารมณ์-จิตใจ อยู่ในระดับดี ด้านสังคม อยู่ในระดับดีและด้านสติปัญญา อยู่ในระดับดี
  4. ผลการประเมินรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการจัด
    ประสบการณ์แบบโครงการ (IP2A) ของโรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก คําสําคัญ:การพัฒนารูปแบบ, การบริหารงานวิชาการ, การจัดประสบการณ์แบบโครงการ, โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ
    (สามารถดาวน์โหลดฉบับสมบูรณ์ได้ที่ปุ่มดาวน์โหลดด้านล่าง)